วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การจัดรูปแบบการเขียนรายงาน เรียงลำดับตามนี้

  1. หน้าปก –> คลิ๊กอ่านรายละเอียด
  2. หน้ารองปก (กระดาษเปล่า)
  3. หน้าปกใน (รายละเอียดเหมือนหน้าปกแต่ใช้กระดาษสีขาว)
  4. คำนำ (คลิ๊กอ่านรายละเอียด)
  5. สารบัญ (คลิ๊กอ่านรายละเอียด)
  6. เนื้อเรื่อง (คลิ๊กอ่านรายละเอียด)
  7. บรรณานุกรม หรือ เอกสารอ้างอิง (คลิ๊กอ่านรายละเอียด)
  8. ภาคผนวก (คลิ๊กอ่านรายละเอียด)
  9. รองปกหลัง (กระดาษเปล่า)
  10. หน้าปกหลัง
การจัดหน้ากระดาษ ใช้กระดาษ A4 โดยตั้งค่าหน้ากระดาษ ดังนี้ ครับ
  • ซ้าย ระยะห่างเท่ากับ 1.5 นิ้ว
  • ขวา ระยะห่างเท่ากับ 1 นิ้ว
  • บน ระยะห่างเท่ากับ 1.5 นิ้ว
  • ล่าง ระยะห่างเท่ากับ 1 นิ้ว
หมายเหตุ 1 นิ้ว เท่ากับ 2.54 เซนติเมตร สอนการตั้งค่าหน้ากระดาษ

ตัวอย่างหน้าปกรายงาน  มีรูปแบบดังนี้



วิธีทำตัวอย่างหน้าปกรายงาน

วิธีการทำนั้นไม่ยากเลยครับ เพี้ยงเราแก้ตรง ข้อมูลส่วนตัวของเราไปแทนที่ได้เลย แต่บางครั้งรูปแบบของแต่ละโรงเรียนอาจไม่เหมือนกันนะครับ ถ้าอาจารย์สั่งรูปแบบของอาจารย์ เราก็เปลี่ยนตาม แต่ถ้าไม่ได้สั่งรูปแบบมาก็ยึดตามรูปแบบนี้ได้เลยครับ


รูปแบบ การเขียนหน้าปกรายงาน มีส่วนต่างๆ ดังนี้


ชื่อเรื่อง
จัดทำโดย
ชื่อ นามสกุล ผู้ทำรายงาน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  xx  เลขที่ xx
เสนอ
อาจารย์xxx xxx
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา xxxxxx
ชื่อโรงเรียนภาคเรียนที่ xx ปีการศึกษา xxxx



ตัวอย่างคำนำรายงาน

รายงานเล่มนี้่่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา…….ชั้น…เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้
ในเรื่่อง……..และได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน
ผู้จัดทำหวังว่า  รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลัง
หาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา
ณ ที่นี้ด้วย

ผู้จัดทำ
 วันที่…………….



การเขียนคำนำรายงาน
มีวิธีการเขียน ดังนี้
การเขียนคำนำรายงานนั้นในส่วนของย่อหน้าแรกเราควรเขียนเพื่อเกริ่นเนื้อเรื่องไปก่อนโดย
ยังไม่เข้าเนื้อเรื่อง แต่ควรพยายามพูดชักจูงให้ผู้อ่านสนใจ หรือพูดที่มาที่ไป ก่อน เพื่อให้
ผู้อ่านอยากติดตามต่อ
ส่วนต่อมาควรกล่าวเริ่มเข้าเนื้อเรื่องของเราว่าเราจะทำรายงานเกี่ยวกับอะไร และมี
เรื่องอะไรบ้าง หรือพูดถึงเฉพาะเรื่องสำคัญๆ ก็ได้ และตอนสุดท้ายก็ปิดท้ายว่าทำเพื่ออะไร
เพื่อประโยชน์กับใคร ที่จะได้มาอ่านบทความนี้
และก็อาจกล่าวขอบคุณอาจารย์ผู้สอนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับรายงาน และปิดท้ายด้วย
การขอรับข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้รายงานดีขึ้น
ลักษณะของการเขียนคำนำรายงานที่ดี ตามหลักของ ราชบัณฑิต บอกไว้ว่า
1. เขียนด้วยคำพังเพย หรือสุภาษิตที่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง
2. เขียนอธิบายความหมายของเรื่อง
3. เขียนโดยขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลสำคัญ
4. เขียนด้วยการเล่าเรื่อง
5. เขียนด้วยคำถามหรือปัญหาที่สนใจ
6. เขียนด้วยการอธิบายชื่่อเรื่อง
7. เขียนคำนำด้วยคำกล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน
8. เขียนด้วยการกล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่องที่เขียน หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านนะครับ

ตัวอย่างบรรณานุกรม มีรูปแบบดังนี้




1 ความคิดเห็น: